undefined-logo

1

คุณสมบัติผู้แสดงความจำนง

2

ข้อมูลส่วนบุคคล

3

ข้อมูลที่อยู่

4

ข้อมูลยืนยันตัวตน

5

ข้อมูลญาติ และช่องทางรับทราบข้อมูล

6

ตรวจสอบข้อมูล

7

ยืนยันการลงทะเบียน

0 of 7
คุณสมบัติผู้แสดงความจำนง

ถัดไป: ข้อมูลส่วนบุคคล

คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการอุทิศร่างกาย

หลักเกณฑ์สำคัญก่อนท่านแจ้งความจำนง อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา

  1. อายุผู้บริจาค: ต้องมีอายุเกิน 20 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไป
  2. สิทธิในการจัดการร่าง: เมื่อถึงแก่กรรม ทายาทผู้รับมรดกมีสิทธิจัดการเรื่องการบริจาคร่างโดยชอบตามกฎหมาย โรงพยาบาลจะไม่เรียกร้องสิทธิใดๆ
  3. การแจ้งโรงพยาบาล: เมื่อผู้บริจาคถึงแก่กรรม ให้ญาติ/ทายาท ติดต่อเข้ามาโดยตรงที่ ศูนย์รับร่าง รพ.จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย หมายเลข 083 829 9917
  4. ระยะเวลาในการแจ้งเจ้าหน้าที่ ว่ามีผู้เสียชีวิต ห้ามเกิน 20 ชั่วโมง หากยิ่งนานเกินไป มีผลกระทบต่อการพิจารณารับร่างผู้เสียชีวิต
  5. ขอบเขตการออกรับร่าง: ระยะทางในการจัดส่งร่างดังต่อไปนี้
    • ระยะทาง 100 กิโลเมตร จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
    • จังหวัดกรุงเทพ / นนทบุรี / ปทุมธานี / สมุทรสาคร / สมุทรปราการ รับทั้งที่บ้านและโรงพยาบาล
    • อื่นๆ หรือตามดุลยพินิจ โดยเจ้าหน้าที่รับร่าง คือ สมุทรสงคราม / นครปฐม / พระนครศรีอยุธยา / ชลบุรี / ฉะเชิงเทรา รับแต่โรงพยาบาลที่กำเนิดและไม่มีเคสในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
    • จังหวัดสมุทรสงคราม โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า โรงพยาบาลมหาชัยแม่กลอง โรงพยาบาลอัมพวา

      จังหวัดนครปฐม โรงพยาบาลนครปฐม โรงพยาบาลสินแพทย์นครปฐม โรงพยาบาลกรุงเทพ คริสเตียน นครปฐม โรงพยาบาลศาลายา โรงพยาบาลสามพราน โรงพยาบาลนครชัยศรี โรงพยาบาลพุทธมณฑล โรงพยาบาลบางเลน โรงพยาบาลกำแพงแสน

      จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา โรงพยาบาลวังน้อย โรงพยาบาลราชธานี โรงพยาบาลบางปะผัน โรงพยาบาลบางปะอิน โรงพยาบาลเอเชียอินเตอร์เนชั่นแนล

      จังหวัดชลบุรี โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลเอกชล โรงพยาบาลเอกชล 2 โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา

      จังหวัดฉะเชิงเทรา โรงพยาบาลพุทธโสธร โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ฉะเชิงเทรา โรงพยาบาลบางปะกง

    หมายเหตุ : ในเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รัศมี 100 กิโลเมตรจาก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทางคณะแพทย์จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจัดรถไปรับร่างผู้เสียชีวิต เพื่อมาตรวจเลือดที่ ภาควิชาฯ

    อื่นๆ สำคัญ : นอกเขตพื้นที่ดังกล่าวทางญาติต้องเป็นผู้นำส่งร่างผู้เสียชีวิตเอง ควรใช้ถุงน้ำแข็ง อย่างน้อย 2 ถุงวางไว้บนหน้าท้อง แล้วคลุมด้วยผ้าห่มแล้วจึงนำส่ง โดยค่าใช้จ่ายในการนำร่างผู้เสียชีวิตนั้น ญาติต้องรับผิดชอบด้วยตนเอง หากทางญาติไม่สะดวก ทางญาติสามารถยกเลิกได้ทันดีโดยทางเราจะไม่เรียกร้องสิทธิใดๆ

  6. สภาพร่างจะต้องไม่มีลักษณะ
    • สภาพร่างกายจะต้องไม่เน่าเสีย
    • ไม่เป็นผู้ป่วยติดเตียง (ที่มีแผลกดทับ)
    • ไม่มีแผลหรือการผ่าตัดที่ยังไม่หายดี มีลักษณะแผลที่เย็บใหม่
    • แขน ขา ลำตัว ร่างกายต้องยืดตรงสมบูรณ์ ไม่บิด ไม่งอ ไม่ลีบ
    • ไม่มีภาวะบวมน้ำ (จะรับน้ำยาในการรักษาสภาพร่างไม่ไหว)
    • ช่องท้องหรือหน้าท้องมีลักษณะบวม
    • ห้ามมีการฉีดน้ำยาอื่นก่อนในร่างผู้เสียชีวิต เช่น ฟอร์มาลีน (จะมีผลต่อรับการรักษาสภาพร่าง)
  7. สาเหตุการเสียชีวิตที่ไม่รับร่าง
    • เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง
    • เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
    • เสียชีวิตจากโรคติดต่อรายแรง ไวรัสตับอักเสบBและC, HIV, โควิด, พิษสุนัขบ้า
    • เสียชีวิตจากการถูกฆาตกรรม ทำให้ต้องมีการชันสูตรพลิกศพ
    • เสียชีวิตจากโรคเบาหวานภาวะรุนแรงมีแผลที่ยังรักษาไม่หายดี
    • เสียชีวิตจากฆ่าตัวตาย
  8. ปัจจัยอื่นที่สำคัญที่ไม่สามารถรับร่างมาได้
    • ไม่มีญาติสายตรงเซ็นใบยินยอมมอบศพให้
    • ร่างผ่านเกณฑ์ทุกอย่างแล้วแต่มีญาติในครอบครัวท่านใดติดขัดเราส่งร่างคืนทันที เพราะถือว่ามีการไม่ยินยอมเกิดขึ้น
    • เมื่อท่านเสียชีวิตไม่มีญาติโทรเข้ามาแจ้งภาควิชาฯ

ข้อควรปฏิบัติให้ญาติทราบ มี 2 ลักษณะ

  1. กรณีเสียชีวิตที่บ้านหรือว่าคอนโด ให้ญาติหรือทายาทแจ้ง หัวหน้าหมู่บ้าน หรืออาจจะเป็นนิติที่คอนโด เพื่อทำการรีบแจ้งตำรวจในพื้นที่นั้นๆ ทำการเข้าพื้นที่ก่อนเพื่อให้แพทย์นิติเวชหรือตำรวจลงนามรับรองในหนังสือแจ้งตายก่อน หากเป็นการเสียชีวิตที่ไม่ผิดปกติ เจ้าพนักงานจะออกหนังสือรับรองให้ และให้ญาติโทรแจ้งเข้ามาที่เราทันที โดยอ้างอิงการเสียชีวิตจากหนังสือรับรองการตาย ถัดมาเจ้าหน้าที่เฉพาะทางศูนย์รับร่าง โรงพยาบาลจุฬาจะทำการตรวจสอบตามเกณฑ์ที่กำหนด หากร่างผ่าน ทางเราจะออกรับร่างในเขตพื้นที่ที่กำหนด และญาติในวันถัดไปดำเนินการขอออกใบมรณะบัตรที่สำนักงานเขตพื้นที่ในบ้านท่านส่งมาให้เราตามหลังได้
  2. กรณีผู้บริจาคร่างกายเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ให้ญาติหรือทายาทแจ้งทางโรงพยาบาลที่ผู้บริจาคได้พักรักษาตัวอยู่ว่า มีความประสงค์จะบริจาคร่างกายให้โรงพยาบาลจุฬาและห้ามฉีดฟอร์มาลีน หรือน้ำยาอื่นใดลงในร่างของผู้แจ้งความประสงค์ไว้ และเมื่อเสียชีวิต ให้ทางญาติโทรแจ้งศูนย์รับร่างรพ.จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย เพื่อให้เจ้าหน้าที่เฉพาะทางประเมิณสภาพร่างกายและตรวจสอบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ของทาง รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ หากร่างผู้บริจาคผ่านเกณฑ์ ญาติติดต่อโรงพยาบาลเหล่านั้น เพื่อขอออกเอกสารใบมรณบัตร ให้ทางเจ้าหน้าที่ของ รพ.จุฬาฯ เพื่อทางเราจะได้จัดรถไปรับร่างของผู้เสียชีวิต ตามขอบเขตและข้อกำหนดที่แจ้งไว้ได้ในลำดับถัดไป

ประกาศการรับร่างอุทิศร่างกายให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คลิก

2025 Copyright body.staging.focalsolution.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพและสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น โดยให้ความสำคัญต่อความเป็นส่วนตัวและควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของคุณให้ปลอดภัย